สระ
เสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน สะกดด้วยรูปสระพื้นฐานหนึ่งตัวหรือหลายตัวร่วมกัน สระเดี่ยว หรือ สระแท้ คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว
มีทั้งสิ้น 18 เสียง อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
สระเดี่ยวสระผสม
สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน
เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ
ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้
เ–ีย /iːa/ ประสมจากสระ อี และ อา ia
เ–ือ /ɯːa/ ประสมจากสระ อือ และ อา uea
–ัว /uːa/ ประสมจากสระ อู และ อา ua
ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เ–ียะ เ–ือะ –ัวะ ด้วย
แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ
เป็นต้น
สระเกิน คือสระที่มีเสียงของพยัญชนะปนอยู่ มี 8 เสียงดังนี้
–ำ /am, aːm/ am ประสมจาก อะ + ม (อัม) เช่น ขำ
บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาม) เช่น น้ำ
ใ– /aj, aːj/ ai ประสมจาก อะ + ย (อัย) เช่น ใจ
บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย) เช่น ใต้
ไ– /aj, aːj/ ai ประสมจาก อะ + ย (อัย) เช่น ไหม้
บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย) เช่น ไม้
เ–า /aw, aːw/ ao ประสมจาก อะ + ว (เอา) เช่น เกา
บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาว) เช่น เก้า
ฤ /rɯ/ rue, ri, roe ประสมจาก ร +
อึ (รึ) เช่น ฤกษ์ บางครั้งเปลี่ยนเป็น /ri/ (ริ) เช่น
กฤษณะ หรือ /rɤː/ (เรอ) เช่นฤกษ์
ฤๅ /rɯː/ rue ประสมจาก ร + อือ (รือ)
ฦ /lɯ/ lue ประสมจาก ล + อึ (ลึ)
ฦๅ /lɯː/ lue ประสมจาก ล + อือ (ลือ)
บางตำราก็ว่าสระเกินเป็นพยางค์ ไม่ถูกจัดว่าเป็นสระ
สระบางรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ
1 คำที่สะกดด้วย –ะ + ว นั้นไม่มี เพราะซ้ำกับ –ัว
แต่เปลี่ยนไปใช้ เ–า แทน
2 คำที่สะกดด้วย –อ + ร จะลดรูปเป็น –ร ไม่มีตัวออ
เช่น พร ศร จร ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ โ–ะ ดังนั้นคำที่สะกดด้วย โ–ะ + ร
จึงไม่มี
3 สระ เ–อะ ที่มีตัวสะกดใช้รูปเดียวกับสระ เ–อ เช่น เงิน
เปิ่น เห่ย
4 คำที่สะกดด้วย เ–อ + ย จะลดรูปเป็น เ–ย
ไม่มีพินทุ์อิ เช่น เคย เนย เลย ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ เ– ดังนั้นคำที่สะกดด้วย
เ– + ย จึงไม่มี
5 พบได้น้อยคำ เช่น เทอญ เทอม
6 มีพยัญชนะสะกดเป็น ย เช่น ไทย ไชย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น