ไวยากรณ์
ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด
คำในภาษาไทยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไม่ว่าจะอยู่ในกาล (tense) การก (case)
มาลา
(mood) หรือวาจก (voice) ใดก็ตาม คำในภาษาไทยไม่มีลิงก์ (gender) ไม่มีพจน์ (number)
ไม่มีวิภัตติปัจจัย
แม้คำที่รับมาจากภาษาผันคำ (ภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย) เป็นต้นว่าภาษาบาลีสันสกฤต
เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูป คำในภาษาไทยหลายคำไม่สามารถกำหนดหน้าที่ของคำตายตัวลงไปได้
ต้องอาศัยบริบทเข้าช่วยในการพิจารณา เมื่อต้องการจะผูกประโยค
ก็นำเอาคำแต่ละคำมาเรียงติดต่อกันเข้า ภาษาไทยมีโครงสร้างแตกกิ่งไปทางขวา คำคุณศัพท์จะวางไว้หลังคำนาม ลักษณะทางวากยสัมพันธ์โดยรวมแล้วจะเป็นแบบ
'ประธาน-กริยา-กรรม'
วากยสัมพันธ์
ลักษณะทางวากยสัมพันธ์หรือการเรียงลำดับคำในประโยคโดยรวมแล้วจะเรียงเป็น
'ประธาน-กริยา-กรรม' (subject-verb-object หรือ SVO)
อย่างใดก็ดี
ในบางกรณีเช่นในกรณีที่มีการเน้นความหมายของกรรม (topicalization) สามารถเรียงประโยคเป็น
กรรม-ประธาน-กริยา ได้ด้วย แต่ต้องใช้คำชี้เฉพาะเติมหลังคำกรรมคำนั้น อาทิ
กรณี
|
ลำดับคำ
|
ตัวอย่าง
|
ธรรมดา
(unmarked) |
ประธาน-กริยา-กรรม
|
วัวกินหญ้าแล้ว
|
เน้นกรรม
(object topicalization) |
กรรม-ประธาน-กริยา
|
หญ้านี้ วัวกินแล้ว
หรือ หญ้าเนียะ วัวกินแล้ว |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น