วรรณยุกต์
เสียงวรรณยุกต์
คำเป็น
เสียงวรรณยุกต์ ในภาษาไทย (เสียงดนตรีหรือเสียงผัน) จำแนกออกได้เป็น 5 เสียง ได้แก่
เสียงวรรณยุกต์ | ตัวอย่าง |
เสียง | ระดับเสียง | อักษรไทย | สัทอักษรสากล |
หน่วยเสียง | เสียง |
สามัญ | กลาง | นา | /nāː/ | [naː˧] |
เอก | กึ่งต่ำ-ต่ำ หรือ ต่ำอย่างเดียว | หน่า | /nàː/ | [naː˨˩] หรือ [naː˩] |
โท | สูง-ต่ำ | น่า/หน้า | /nâː/ | [naː˥˩] |
ตรี | กึ่งสูง-สูง หรือ สูงอย่างเดียว | น้า | /náː/ | [naː˦˥] หรือ [naː˥] |
จัตวา | ต่ำ-กึ่งสูง | หนา | /nǎː/ | [naː˩˩˦] หรือ [naː˩˦] |
คำตาย
เสียงวรรณยุกต์ในคำตายสามารถมีได้แค่เพียง 3 เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงเอก เสียงโท และ เสียงตรี โดยขึ้นอยู่กับความสั้นความยาวของสระ เสียงเอกสามารถออกเสียงควบคู่กับได้สระสั้นหรือยาว เสียงตรีสามารถออกเสียงควบคู่กับสระสั้น และ เสียงโทสามารถออกเสียงควบคู่กับสระยาว อาทิ
เสียง | สระ | ตัวอย่าง |
อักษรไทย | หน่วยเสียง | เสียง |
เอก | สั้น | หมัก | /màk/ | [mak̚˨˩] |
ยาว | หมาก | /màːk/ | [maːk̚˨˩] |
ตรี | สั้น | มัก | /mák/ | [mak̚˦˥] |
โท | ยาว | มาก | /mâːk/ | [maːk̚˥˩] |
แต่อย่างใดก็ดี ในคำยืมบางคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ คำตายสามารถมีเสียงตรีควบคู่กับสระยาว และเสียงโทควบคู่กับสระสั้นได้ด้วย อาทิ
เสียง | สระ | ตัวอย่าง |
อักษรไทย | หน่วยเสียง | เสียง | อังกฤษ |
ตรี | ยาว | มาร์ก | /máːk/ | [maːk̚˦˥] | Marc, Mark |
สตาร์ต | /sa.táːt/ | [sa.taːt̚˦˥] | start |
บาส (เกตบอล) | /báːt (.kêt.bɔ̄n) / | [baːt̚˦˥ (.ket̚˥˩.bɔn˧)] | basketball |
โท | สั้น | เมคอัพ | /méːk.ʔâp/ | [meːk̚˦˥.ʔap̚˥˩] | make-up |
รูปวรรณยุกต์
ส่วน รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่
รูปวรรณยุกต์ | ชื่อ |
ไทย | สัทอักษร |
-่ | ไม้เอก | /máːj.ʔèːk/ |
-้ | ไม้โท | /máːj.tʰōː/ |
-๊ | ไม้ตรี | /máːj.trīː/ |
-๋ | ไม้จัตวา | /máːj.t͡ɕàt.ta.wāː/ |
การเขียนเสียงวรรณยุกต์
ทั้งนี้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีระดับเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับเสียงของอักษรนำด้วย เช่น ข้า (ไม้โท) ออกเสียงโทเหมือน ค่า (ไม้เอก) เป็นต้น
| รูปวรรณยุกต์ |
ไม่เขียน | -่ | -้ | -๊ | -๋ |
อักษร | สูง | เสียงจัตวา | เสียงเอก | เสียงโท | - | - |
ตัวอย่าง | ขา | ข่า | ข้า | - | - |
|
กลาง | เสียงสามัญ | เสียงเอก | เสียงโท | เสียงตรี | เสียงจัตวา |
ตัวอย่าง | ปา | ป่า | ป้า | ป๊า | ป๋า |
|
ต่ำ | เสียงสามัญ | เสียงโท | เสียงตรี | - | - |
ตัวอย่าง | คา | ค่า | ค้า | - | -
|
เสียงวรรณยุกต์
คำเป็น
เสียงวรรณยุกต์ ในภาษาไทย (เสียงดนตรีหรือเสียงผัน) จำแนกออกได้เป็น 5 เสียง ได้แก่
เสียงวรรณยุกต์ | ตัวอย่าง |
เสียง | ระดับเสียง | อักษรไทย | สัทอักษรสากล |
หน่วยเสียง | เสียง |
สามัญ | กลาง | นา | /nāː/ | [naː˧] |
เอก | กึ่งต่ำ-ต่ำ หรือ ต่ำอย่างเดียว | หน่า | /nàː/ | [naː˨˩] หรือ [naː˩] |
โท | สูง-ต่ำ | น่า/หน้า | /nâː/ | [naː˥˩] |
ตรี | กึ่งสูง-สูง หรือ สูงอย่างเดียว | น้า | /náː/ | [naː˦˥] หรือ [naː˥] |
จัตวา | ต่ำ-กึ่งสูง | หนา | /nǎː/ | [naː˩˩˦] หรือ [naː˩˦] |
คำตาย
เสียงวรรณยุกต์ในคำตายสามารถมีได้แค่เพียง 3 เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงเอก เสียงโท และ เสียงตรี โดยขึ้นอยู่กับความสั้นความยาวของสระ เสียงเอกสามารถออกเสียงควบคู่กับได้สระสั้นหรือยาว เสียงตรีสามารถออกเสียงควบคู่กับสระสั้น และ เสียงโทสามารถออกเสียงควบคู่กับสระยาว อาทิ
เสียง | สระ | ตัวอย่าง |
อักษรไทย | หน่วยเสียง | เสียง |
เอก | สั้น | หมัก | /màk/ | [mak̚˨˩] |
ยาว | หมาก | /màːk/ | [maːk̚˨˩] |
ตรี | สั้น | มัก | /mák/ | [mak̚˦˥] |
โท | ยาว | มาก | /mâːk/ | [maːk̚˥˩] |
แต่อย่างใดก็ดี ในคำยืมบางคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ คำตายสามารถมีเสียงตรีควบคู่กับสระยาว และเสียงโทควบคู่กับสระสั้นได้ด้วย อาทิ
เสียง | สระ | ตัวอย่าง |
อักษรไทย | หน่วยเสียง | เสียง | อังกฤษ |
ตรี | ยาว | มาร์ก | /máːk/ | [maːk̚˦˥] | Marc, Mark |
สตาร์ต | /sa.táːt/ | [sa.taːt̚˦˥] | start |
บาส (เกตบอล) | /báːt (.kêt.bɔ̄n) / | [baːt̚˦˥ (.ket̚˥˩.bɔn˧)] | basketball |
โท | สั้น | เมคอัพ | /méːk.ʔâp/ | [meːk̚˦˥.ʔap̚˥˩] | make-up |
รูปวรรณยุกต์
ส่วน รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่
รูปวรรณยุกต์ | ชื่อ |
ไทย | สัทอักษร |
-่ | ไม้เอก | /máːj.ʔèːk/ |
-้ | ไม้โท | /máːj.tʰōː/ |
-๊ | ไม้ตรี | /máːj.trīː/ |
-๋ | ไม้จัตวา | /máːj.t͡ɕàt.ta.wāː/ |
การเขียนเสียงวรรณยุกต์
ทั้งนี้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีระดับเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับเสียงของอักษรนำด้วย เช่น ข้า (ไม้โท) ออกเสียงโทเหมือน ค่า (ไม้เอก) เป็นต้น
| รูปวรรณยุกต์ |
ไม่เขียน | -่ | -้ | -๊ | -๋ |
อักษร | สูง | เสียงจัตวา | เสียงเอก | เสียงโท | - | - |
ตัวอย่าง | ขา | ข่า | ข้า | - | - |
|
กลาง | เสียงสามัญ | เสียงเอก | เสียงโท | เสียงตรี | เสียงจัตวา |
ตัวอย่าง | ปา | ป่า | ป้า | ป๊า | ป๋า |
|
ต่ำ | เสียงสามัญ | เสียงโท | เสียงตรี | - | - |
ตัวอย่าง | คา | ค่า | ค้า | - | -
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น