วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สำเนียง

สำเนียง

สำเนียงถิ่นในภาษาไทย สามารถแบ่งได้ดังนี้
สำเนียงกรุงเทพ

              สำเนียงกรุงเทพพบได้หลัก ๆ ในกรุงเทพฝั่งพระนคร, อำเภอเมืองนนทบุรี, จังหวัดชลบุรี, บางส่วนของจังหวัดฉะเชิงเทรา และตามอำเภอเมืองต่าง ๆ สำเนียงกรุงเทพเป็นสำเนียงทางการของภาษาไทย, เป็นสำเนียงหลักสำหรับผู้ที่ไม่ได้พูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่ในการพูดภาษาไทยซึ่งปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่สามารถสื่อสารสำเนียงนี้ได้ดีเท่ากับเจ้าของสำเนียง เพราะการขยายตัวของสื่อ, สิ่งพิมพ์, รายการโทรทัศน์, วิทยุ, สื่อออนไลน์ และอื่น ๆ

เป็นสำเนียงทางการของภาษาไทย เดิมทีเป็นการผสมผสานกันระหว่างสำเนียงอยุธยา, สำเนียงสุพรรณบุรีและชาวไทยเชื้อสายจีนรุ่นหลังที่พูดไทยแทนภาษาหมิ่นใต้และภาษากวางตุ้ง ลักษณะเด่นคือมีการออกเสียงที่ชัดเจนและแข็งกระด้างซึ่งสันนิษฐานว่ารับอิทธิพลจากภาษาแต้จิ๋ว การออกเสียงพยัญชนะ สระ การผันวรรณยุกต์ที่ในภาษาไทยมาตรฐาน มาจากสำเนียงถิ่นนี้ในขณะที่ภาษาไทยสำเนียงอื่นล้วนเหน่อทั้งสิ้น คำศัพท์ที่ใช้ในสำเนียงกรุงเทพจำนวนมากได้รับมาจากกลุ่มภาษาจีนเช่นคำว่า โป๊, เฮ็ง, อาหมวย, อาซิ่ม ซึ่งมาจากภาษาแต้จิ๋ว และจากภาษาจีนเช่น ถู (), ชิ่ว ( อ่านว่า"ชู่") และคำว่า ทาย ( อ่านว่า "ชาย") เป็นต้น เนื่องจากสำเนียงกรุงเทพได้รับอิทธิพลมาจากภาษาหมิ่นใต้ดังนั้นตัวอักษร "ร" มักออกเสียงเหมารวมเป็น "ล" หรือคำควบกล่ำบางคำถูกละทิ้งไปด้วยเช่น รู้ เป็น ลู้, เรื่อง เป็น เลื่อง หรือ ประเทศ เป็น ปะเทศ เป็นต้นสร้างความลำบากให้แก่ต่างชาติที่ต้องการเรียนภาษาไทย แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่พูดสำเนียงถิ่นนี้ก็สามารถออกอักขระภาษาไทยตามมาตรฐานได้อย่างถูกต้องเพียงแต่มักเผลอไม่ค่อยออกเสียง ในด้านการเรียงคำศัพท์หลายครั้งจะพบกว่าภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพบ่อยครั้งมักวางคำวิเศษณ์ผิดตำแหน่งไม่ว่าจะวางคำคุณศัพท์ใว้ข้างหน้าคำนามและวางคำกริยาวิเศษณ์ใว้หน้าคำกริยา หรือบางสำนวนเป็นการดึงไวทยากรณ์จีนมาใช้ภาษาไทยแต่มักจะเป็นภาษาพูด อีกทั้งการใช้ลูกเล่นทางวากยสัมพันธ์มาจากภาษาไทยถิ่นนี้

               อย่างไรก็ตาม ภาษาไทยในกรุงเทพยุคแรกนั้น (รัชกาลที่1-3) บันทึกในพงศาวดารไทยคือสำเนียงแบบกรุงศรีอยุธยา คำศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้เขียนในสมุดข่อยโบราณ คำภีร์ และบันทึกการสร้างเมืองกรุงเทพมหานครเป็นแบบภาษาชาวกรุงศรีฯ รวมถึงประเพณีวัฒนธรรมซึ่งยังไม่มีอะไรผิดแปลกไปจากเดิมนัก ก่อนที่ในสมัยรัชกาลที่4เป็นต้นมา สำเนียงอยุธยาจึงเริ่มวิวัฒธนาการเป็นสำเนียงกรุงเทพจนถึงปัจจุบัน สำเนียงมาตราฐานกรุงเทพมีที่มาจากเขตพระนคร เกาะรัตนโกสินทร์และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นที่ตั้งของราชธานีและมีประชากรกระจุกตัวมากในยุคนั้น ในรัชกาลที่1-3ยังคงมีการศึกสงครามอยู่มากจึงทำให้ประชาชนไม่ได้ออกไปไหนไกล ชาวกรุงเทพยุคแรกจึงสามารถรักษาอัตลักษณ์แบบชาวกรุงศรีอยุธยาดั้งเดิมไว้ได้ จนถึงสมัยรัชกาลที่4-5สยามเริ่มขยายอิทธิพลไปในดินแดดต่าง ๆ มากมาก จึงทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้นรวมถึงการค้าขายที่เจริญรุ่งเรือง มีเมืองประเทศราชและรัฐบรรณาการมากมาย มีการเทครัวชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงชาวเขมรลงมาผสมในกรุงเทพหลายครั้ง จึงทำให้สำเนียงกรุงเทพพัฒนามาจนถึงยุคปัจจุบัน เช่นคำว่า "จมูก" เป็นคำยืมมาจากภาษาเขมร
สำเนียงกรุงเก่า
              พบได้ในการแสดงโขนแบบโบราณซึ่งไม่ต้องการความแข็งกระด้างแบบสำเนียงกรุงเทพ พระบรมวงศานุวงศ์ส่วนใหญ่จะฝึกให้พูดสำเนียงถิ่นนี้เพราะเป็นสำเนียงชนชั้นสูงในสมัยก่อน ปัจจุบันสำเนียงกรุงเก่าเป็นภาษาตาย เนื่องจากวิวัฒนธนาการเป็นภาษาภาคกลางแล้ว แต่ยังคงใช้เป็นบทความแต่งกลอง บนนิพนธ์ การแสดงโขน และนาฏศิลป์แขนงต่าง ๆ

สำเนียงอยุธยา

              สำเนียงอยุธยาพบได้หลัก ๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอื่น ๆ ในภาคกลางส่วนใหญ่ มีลักษณะเหน่อเล็กน้อย โดยภาพยนตร์ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาเช่นสุริโยไท และตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งแม้ว่าในประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาจะพูดสำเนียงสุพรรณบุรี แต่นั่นเป็นเพราะว่าสำเนียงสุพรรณบุรีมีความเหน่อ การฟังอาจจะต้องใช้ความตั้งใจ ดังนั้นสำเนียงนี้จึงมีความเหมาะสมมากกว่า
การออกเสียงในสำเนียงอยุธยาจะค่อนข้างเอื้อนเสียงเหมือนร้องเพลง จึงทำให้มีความเหน่อเล็กน้อยการออกอักขระ "ร" และ "ล" จะเข้มงวดกว่าสำเนียงกรุงเทพมาก สำเนียงอยุธยาจะเหน่อคล้ายสำเนียงสุพรรณบุรี แต่สำเนียงสุพรรณบุรีมีความเหน่อมากกว่า มีข้อสันนิษฐานว่าสำเนียงการเล่นโขนในปัจจุบันคือสำเนียงอยุธยาโบราณ ซึ่งยังคงอัตลักษณ์การเอื้อนเสียงเอาไว้ ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 ยังมีการใช้สำเนียงอยุธยาในกรุงเทพมหานคร และในเขตคลองสาน ซึ่งเป็นชุมชนของชาวกรุงศรีอยุธยาที่ลงมาตั้งรกรากในกรุงเทพมหานคร
                 
 สำเนียงสุพรรณบุรี หรือสำเนียงภาคตะวันตก

              หรือที่คนไทยนิยมเรียกว่า"สำเนียงเหน่อ" เรียกกันในวงศ์กว้างว่าสำเนียงภาคตะวันตก พบได้ในหลายจังหวัดเช่น จังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครบางส่วน และจังหวัดระยอง ปัจจุบันไม่พบหลักฐานแน่ชัดว่าทำไมภาษาไทยสำเนียงสุพรรณบุรีถึงพบในจังหวัดระยอง
สำเนียงแบบสุพรรณเป็นสำเนียงที่นิยมนำมาแสดงหนังและร้องเพลง ซึ่งเป็นสำเนียงมาตราฐานในภาคตะวันตกเลยก็ว่าได้ เนื่องจากสำเนียงแบบสุพรรณมีความเหน่อมากจนสามารถแยกออกได้ว่าไม่เหมืองแบบกรุงเทพ ในอำเภอที่ห่างไกลออกไปของจังหวัดสุพรรณบุรีมีสำเนียงที่เหน่อหนักแน่นกว่ามาก ในจังหวัดกาณจบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และนครปฐม มีสำเนียงเหน่อที่ลดทอนลงมา แต่ถึงอย่างไรก็ตามสำเนียงในจังหวัดเหล่านี้มีการออกเสียงวรรณยุกต์และใช้ศัพท์แบบเดียงกับสุพรรณบุรี เพียงแต่มีสำเนียงเหน่อที่ลดลงมา
                  การออกเสียงใกล้เคียงกับสำเนียงอยุธยาแทบทุกอย่าง เพียงแต่มีความเหน่อมากกว่า ปัจจุบันสำเนียงเหน่อชนิดนี้มักเป็นที่ถูกล้อเลียนดูชวนขบขำ บางตำราเรียนหรือนักวิชาการบางท่านเหมารวมสำเนียงสุพรรณบุรีและสำเนียงอยุธยาเข้าด้วยกัน บุคคลที่มีชื่อเสียงที่พูดสำเนียงนี้เช่นพรพิมล เฟื่องฟุ้ง โอบะ เสียงเหน่อ เป็นต้น
สำเนียงเหน่อแบบเวียงจันทน์
สำเนียงสุพรรณบุรีมีความใกล้เคียงกับสำเนียงลาวเวียงจันทน์ ใช้พูดในเมืองเวียงจันทน์ของประเทศลาว ถึงอย่างไรก็ตามในภาษาลาวเวียงจันทน์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดกับภาษากลางสำเนียงสุพรรณบุรี เนื่องจากภาษาเวียงจันทน์ยังคงอัตลักษณ์ภาษาลาวดั้งเดิมไว้ที่มีไว้ตั้งแต่อาณาจักรล้านช้าง หลายคำในพงศาวดารลาวยังมีใช้คำเหล่านั้นอยู่ในปัจจุบัน เวียงจันทน์ย้ายเมืองหลวงลงมาจากเมืองหลวงพระบาง ในขณะที่สำเนียงลาวหลวงพระบางแทบไม่มีความเหน่อเลย สำเนียงเวียงจันทน์นั้นมีความเหน่อน้อยกว่าสำเนียงทางภาคตะวันตกของไทยมาก มีการออกเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างกัน รวมถึงภาษาไทยภาคกลางและภาษาลาวเวียงจันทน์ต่างก็ไม่ได้มีการยืมคำใด ๆ ทั้งสิ้น
                  ในสมัยรัชกาลที่3และรัชกาลที่5 มีสงครามกับทางเวียงจันทน์หลายครั้ง มีการเทครัวชาวลาวเวียงจันทน์มาอยู่ในภาคอีสานและภาคกลางของไทยจำนวนมาก ในจังหวัดราชบุรีมีชุมชนชาวลาวเวียงจันทน์ที่ถูกเทครัวลงมาอาศัย และในปัจจุบันยังคงพูดภาษาลาวเวียงจันทน์อยู่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง
มีข้อสันนิษฐานที่ชาวลาวเวียงจันทน์พูดเหน่อ อาจเป็นเพราะยุคสงครามเจ้าอนุวงศ์ก่อกบฏ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสั่งทำลายเมืองเวียงจันทน์ และทางสยามส่นคนไปดูแลปกครองในมณฑลลาวพุงขาว กวาดต้อนชาวลาวเวียงจันทน์ข้ามโขงมาจำนวนมาก ศักดินาสยามสมัยนั้นยังคงพูดเหน่อแบบชาวกรุงศรีอยุธยาและคล้ายสำเนียงหลวงสุพรรณบุรี, ในสมัยรัชกาลที่5สยามเสียดินแดนลาวให้ฝรั่งเศส มีชาวลาวเวียงจันทน์เดิมที่คงจงรักภักดีต่อสยามได้ข้ามแม่น้ำโขงตามมาตั้งบ้านเมืองในอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย มีการบันทึกไว้ว่าชาวอำเภอท่าบ่อยังคงพูดสำเนียงเวียงจันทน์ดั้งเดิม ซึ่งต่างจากสำเนียงนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาวปัจจุบัน

สำเนียงภาคตะวันออก

               บางครั้งเรียกว่าภาษาถิ่นระยอง หรือภาษาถิ่นจันทบุรี พูดกันในแถบจังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด ปัจจุบันปรากฏว่าภาษาระยองดั้งเดิมนั้นมีจำนวนคนพูดค่อนข้างน้อย ที่พูดได้มักจะเป็นผู้สูงอายุ ทำให้ในขณะนี้มีผู้พยายามฟื้นฟูภาษาระยองขึ้นมาใหม่ทั้งในส่วนราชการและท้องถิ่น โดยทั่วไปแล้วสำเนียงระยองยังแตกต่างกันออกไปอีกในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจยากของคนท้องถิ่นอื่นหรือจังหวัดอื่น สำเนียงทั้ง3จังหวัดในภาคตะวันออกนั้นมีการเปรียบเปรยไว้ว่า "ระยองฮิสั้น จันท์ฮิยาว ตราดฮิใหญ่" หมายถึงคำว่า "ฮิ" ซึ่งเป็นคำลงท้ายในสำเนียงภาคตะวันออก ซึ่งแปลว่า"เหรอ" เช่น ไปไหนมาฮิ แปลว่าไปไหนมาเหรอ ใน3จังหวัดภาคตะวันออกมีการลากเสียงสั้นและยาวที่แตกต่างกัน
แต่ลักษณะสำเนียงและวรรณยุกต์มีส่วนคล้ายกับสำเนียงโคราช ซึ่งเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกันอยู่

สำเนียงกรุงเทพรอบนอก

                   พบได้ในกรุงเทพฝั่งธนบุรีและจังหวัดสมุทรปราการ เดิมรากฐานของสำเนียงถิ่นนี้มาจากแขกภาษาปัญจาบภาษาพัชโตฝรั่ง และ มอญ
สำเนียงถิ่นนี้มีความใกล้เคียงทั้งสำเนียงกรุงเทพและอยุธยาก็คือ มีความเหน่อเล็กน้อยและ "ร" และ "ล" จะเข้มงวดเหมือนสำเนียงอยุธยาและมีการออกอักขระชัดเจนแบบกรุงเทพแต่จะเหน่อกว่ากรุงเทพ ตัวอย่างบุคคลที่พูดสำเนียงถิ่นนี้เช่น สุหฤท สยามวาลาสุประวัติ ปัทมสูต และ เฉลิม อยู่บำรุง เป็นต้น

สำเนียงสุโขทัย
                      สำเนียงสุโขทัยเป็นสำเนียงโบราณสมัยกรุงสุโขทัย ปัจจุบันพบได้ในจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดสุโขทัยจังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดใกล้เคียงในภาคเหนือตอนล่าง สำเนียงสุโขทัยส่งอิทธิพลต่อสำเนียงในจังหวัดนครสวรรค์จังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดพิจิตรจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งแต่เดิมคือเมืองในอาณาจักรสุโขทัย สำเนียงในภาคเหนือตอนล่างถูกแยกเป็นสาขาย่อยของสำเนียงสุโขทัยอีกทอดหนึ่ง มีการพูดเหน่อคล้ายสำเนียงในภาคตะวันตก แต่การผันวรรณยุกต์และการใช้ศัพท์ต่างท้องถิ่นกันมาก
                      การออกเสียงสำเนียงนี้จะค่อนข้างคล้ายภาษาไทยถิ่นเหนือมีคำเมืองปนอยู่มาก มีหกวรรณยุกต์เหมือนกับภาษาไทยถิ่นเหนือ นิยมออกเสียงไม้เอกเป็นจัตวา แต่การออกอักขระเสียงเหมือนกับสำเนียงอยุธยาแทบทุกอย่างและเสียงจะห้วนกว่าสำเนียงอยุธยาและกรุงเทพ, "ร" และ "ล" จะเข้มงวดน้อยกว่าสำเนียงอยุธยา แต่ไม่ถูกละทิ้งบ่อย ๆ แบบสำเนียงกรุงเทพ, ออกเสียงพยัญชนะตัว "ฉ" กับ "ช", "ถ" กับ "ท", "ผ" กับ "พ" และ "ฝ" กับ "ฟ" แยกออกจากกัน บุคคลที่มีชื่อเสียงที่พูดสำเนียงนี้อย่างเช่น พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณบุญธรรม ฮวดกระโทกมนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล และ กรภพ จันทร์เจริญ เป็นต้น
ในอดีตอาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรอิสระ ก่อนที่ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ อาณาจักรอยุธยาจะผนวกดินแดนรวมกับอาณาจักรสุโขทัย
                         ยุคของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายราชธานีจากอยุธยาขึ้นไปอยู่เมืองพิษณุโลกนานกว่า20ปี เนื่องจากอาณาจักรล้านนาแผ่อิทธิพลลงมาทางใต้ และพระเจ้าติโลกราชตีเมืองศรีสัชนาลัยได้ และพระองค์ทรงทำสงครามกับล้านนาหลายครั้ง มีข้อสันนิษฐานว่าภาษาอยุธยาได้ขึ้นไปผสมกับสำเนียงสุโขทัยในยุคนั้น ประกอบกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเป็นลูกครึ่งระหว่างราชวงศ์พระร่วงกับราชวงศ์สุพรรณภูมิพระราชบิดาคือเจ้าสามพระยา ราชวงศ์สุพรรณภูมิแห่งกรุงศรีอยุธยา และพระราชมารดาคือพระธิดาของพระยาไสลือไท จาก]]ราชวงศ์พระร่วง]]สุโขทัย ทั้ง2ทรงอภิเสกสมรสกันเนื่องจากอาณาจักรสุโขทัยตกเป็นรัฐบรรณาการในอาณาจักรอยุธยา และเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี พระบรมไตรโลกนาถทรงถือโอกาศใช้เลือด2สายรวมทั้ง2อาณาจักรเข้าด้วยกัน และทรงย้ายไปอยู่พระราชวังจันทน์ที่เมืองพิษณุโลกสองแควกับราชนิกูลฝ่ายแม่
รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระมหาธรรมราชาเสด็จลงมาจากเมืองพิษณุโลกเพื่อปราบกบฏท้าวศรีสุดาจันทน์ พระศรีสุริโยไทจึงยกพระวิสุทธกษัตรี พระราชธิดาองค์โตให้ไปปกครองหัวเมืองเหนือกับพระมหาธรรมราชาร่วมกันที่เมืองพิษณุโลก พร้อมข้าราชบริพารติดตามขึ้นไปจำนวนหนึ่ง พระวิสุทธกษัตรีทรงสร้างวัดนางพญา ซึ่งคำว่า"นางพญา" หมายถึงพระราชินี หรือเจ้าหญิง ผู้คนพิษณุโลกทรงเรียกพระองค์ว่า"นางพญา" สันนิษฐานว่าคือคำในสำเนียงสุโขทัยและล้านนา
เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ราชวงศ์สุพรรณภูมิล่มสลาย พระเจ้าบุเรงนองทรงแต่งตั้งพระมหาธรรมราชาจากราชวงศ์พระร่วงสุโขทัยลงมาปกครองกรุงศรีอยุธยา จึงทำให้วัฒนธรรมทางเหนือลงมาสู่กรุงศรีอยุธยา เช่น ภาษาไทยที่พัฒนามาจากพ่อขุนรามคำแหง, คติความเชื่อการสร้างวัดในเขตพระราชวัง และสถาปัตยกรรมศิลปะสุโขทัย ฯลฯ
                          ในยุคพระนเรศวรมหาราช ทรงเทหัวเมืองเหนือหรือผู้คนในอาณาจักรสุโขทัยลงมาอยู่กรุงศรีอยุธยาเพื่อรับศึกพระเจ้านันทบุเรง จึงทำให้คนในเมืองเหนือและเมืองใต้ผสมกันทางวัฒนธรรม ในอดีตคนเมืองเหนือและคนเมืองใต้ไม่ลงลอยกัน จึงทำให้ยุคสมเด็จพระนเรศรมีผู้คนลงมาผสมกันจำนวนมาก และราชวงศ์พระร่วงได้ปกครองกรุงศรีอยุธยาไปอีกหลายรัชกาล จึงมีส่วนทำให้สำเนียงอยุธยาได้อิทธิพลจากสำเนียงสุโขทัยนานหลายปี และพระนเรศวรเองทรงเป็นลูกครึ่งทั้งแคว้น คือพ่อเชื้อสายสุโขทัย แม่เป็นเจ้าหญิงอยุธยา
                          ในปัจจุบันสำเนียงสุโขทัยแบ่งออกเป็น2ส่วน คือ1.สำเนียงสุโขทัยเก่า 2.สำเนียงสุโขทัยใหม่ โดยสำเนียงสุโขทัยเก่ายังคงรักษาอัตลักษณ์เดิมไว้ไม่เปลี่ยนแปลง พบในอำเภอที่อยู่ห่างออกไปจากอำเภอเมือง และผู้พูดมักเป็นผู้สูงอายุ ในขณะที่สำเนียงสุโขทัยใหม่คือสำเนียงที่พัฒนาขึ้นมาจากเดิม มักมีสำเนียงและศัพท์จากกรุงเทพผสม มีการจำกัดขอบเขตในส่วนที่มีทางรถไฟเข้าถึงให้เป็นสำเนียงสุโขทัยใหม่ เนื่องจากเป็นส่วนที่มีการพัฒนาเข้าถึงและรับวัฒนธรรมจากเมืองหลวงกรุงเทพจนเกิดการเปลี่ยนแปลง สำเนียงสุโขทัยยังเป็นที่รู้จักกันน้อยและยังไม่มีพจนานุกรมภาษาถิ่น

สำเนียงเพชรบุรี
                        สำเนียงเพชรบุรี พบได้ในจังหวัดเพชรบุรี และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาษาไทยสำเนียงนี้มีความใกล้เคียงกับภาษาไทยถิ่นใต้และได้รับอิทธิพลจากภาษามอญเป็นอย่างมาก
สำเนียงเมืองเพชรที่มีความพูดเร็วคล้ายภาษาปักษ์ใต้ มีการลดรูปภาษาให้สั้นและกระชับลง ในขณะที่สำเนียงพูดยังอยู่ในตระกูลภาษาไทยภาคกลาง สำเนียงที่ถูกยกให้เป็นต้นแบบของสำเนียงเพชรบุรีอยู่ที่อำเภอบ้านลาด การออกเสียงใกล้เคียงกับภาษาไทยถิ่นใต้เป็นอย่างมากจนทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นภาษาปักษ์ใต้ แต่ด้วยลักษณะสำนวนคำและคำศัพท์บางคำนำมาจากภาษาใต้และภาษามอญก็ยังคงความเป็นภาษาไทยถิ่นกลางอยู่เทียบเท่ากับภาษาจิ้นที่มีความใกล้เคียงกับภาษาจีนอย่างมาก ในบางถิ่นมีสำเนียงคล้ายภาคตะวันออก
สำเนียงเพชรบุรีหรือสำเนียงประจวบคีรีขันธ์ ถูกจัดลำดับให้เป็นสำเนียงที่เข้าใจยากที่สุดรองจากสำเนียงโคราช


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น