คำในภาษาไทยจำแนกได้ 7 ชนิดคือ
คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำบุรำบท คำสันธาน และคำอุทาน
คำนาม คือคำที่ใช้เรียนชื่อคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เช่น ครู นักปลา ดินสอโต๊ะ บ้าน โรงเรียน แบ่ง 5 ชนิด ได้แก่
1. สามานยนาม ได้แก่นามที่เป็นชื่อทั่ว ๆ ไป เช่นหนู ไก่ โต๊ะ บ้าน คน
2. วิสามานนาม เป็นชื่อเฉพาะ เช่น นายทอง เจ้าดำ ชื่อวัน ชื่อเดือน ชื่อจังหวัด ชื่อประเทศ ชื่อแม่น้ำ ชื่อเกาะ
3. สุหนาม นามที่เป็นหมู่คณะ เช่น ฝูง โขลง กลอง หรือคำที่มีความหมายไปในทางจำนวนมาก เช่น รัฐบาล องค์กร กรม บริษัท
4. ลักษณนาม เป็นคำนามที่บอกลักษณะของนาม มักใช้หลังคำวิเศษที่บอกจำนวนนับ เช่น ภิกษุ 4 รูป นาฬิกา 4 เรือน
5. อาการนาม คือ นามที่เป็นชื่อกริยาอาการในภาษามักใช้คำว่า “การ” และ “ความ” นำหน้า เช่น การนั่งการกิน ความดี ความจน
คำนามที่อยู่ในประโยคจะทำหน้าที่ได้ทั้งเป็นประธานและกริยาของประโยค เช่น
ประโยค ประธาน กริยา กรรม
ม้าวิ่ง ม้า วิ่ง -
นักเรียนไปโรงเรียน นักเรียน ไป โรงเรียน
แมวจับหนู แมว จับ หนู
ครูทำโทษสมชาย ครู ทำโทษ สมชาย
คำสรรพนาม
คำสรรพนาม คือคำที่ใช้แทนคำนาม เช่น ผม ฉัน หนู เธอ คุณข้าพเจ้า เขา ท่าน มัน เป็นต้น แบ่งเป็น 6 ชนิดได้แก่
1. บุรุษสรรพนาม คือคำนามที่ใช้แทนชื่อ เวลาพูดกัน
บุรุษที่ 1 ใช้แทนผู้พูด เช่นผมฉัน ข้าพเจ้า
บุรุษที่2 ใช้แทนผู้ฟัง เช่นคุณ เธอ
บุรุษที่ 3 ใช้แทนผู้กล่าวถึง เช่นเขา มัน
2. ประพันธสรรพนาม คือคำสรรพนามที่ใช้แทน(เชื่อม)คำนามที่อยู่ข้างหน้า ได้แก่ คำว่า ที่ ซึ่ง อัน เช่น
คนที่ออกกำลังกายเสมอร่างการมักแข็งแรง
อเมริกาซึ่งเป็นเจ้าภาพแข่งขันชกมวยกำลังมีชื่อเสียงทั่วโลก
มีดอันที่อยู่ในครัวคมมาก
3. นิยมสรรพนาม ได้แก่สรรพนามที่กำหนดความให้รู้แน่นอนได้แก่ นี่ นั่น โน่น หรือ นี้ นั้น โน้น เช่น
นี่เป็นเพื่อนของฉัน
นั่นอะไรน่ะ
โน่นของเธอ
ของเธออยู่ที่นี่
4. อนิยมสรรพนาม ได้แก่สรรพนามที่แทนสิ่งที่ไม่ทราบ คือไม่ชี้เฉพาะลงไปและไม่ได้กล่าวในเชิงถาม หรือสงสัย ได้แก่ ใคร อะไร ไหน ใด เช่น
ใครขยันก็สอบไล่ได้
เขาเป็นคนที่ไม่สนใจอะไร
5. ปฤจฉสรรพนาม ได้แก่สรรพนามใช้เป็นคำถาม ได้แก่คำ อะไร ใคร ที่ไหน แห่งใด ฯลฯ เช่น
ใครอยู่ที่นั่น
อะไรเสียหายบ้าง
ไหนละโรงเรียนของเธอ
6. วิภาคสรรพนาม หมายถึงคำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามซึ่งแสดงให้เห็นว่านามนั้น จำแนกออกเป็นหลายส่วน ได้แก่ ต่างบ้าง กัน เช่น
นักเรียนต่างก็อ่านหนังสือ
เขาตีกัน
นักเรียนบ้างเรียนบ้างเล่น
คำกริยา
คำกริยา คือ คำแสดงอาการของนาม สรรพนาม แสดงการกระทำของประโยค เช่น เดิน วิ่ง เรียน อ่าน นั่ง เล่น เป็นต้น แบ่งเป็น 4 ชนิด
1. สกรรมกริยา คือคำกริยาที่ต้องมีกรรมรับ เช่น
ฉันกินข้าว
เขาเห็นนก
2. อกรรกริยา คือคำกริยาที่ไม่ต้องมี่กรรมมารับก็ได้ความสมบูรณ์ เช่น
เขานั่ง
เขายืน
3. วิกตรรถกริยา คือ คำกริยาที่ไม่มีความหมายในตัวเอง ใช้ตามลำพังแล้วไม่ได้ความต้องมีคำอื่นมาประกอบจึงจะได้ความ ได้แก่ เหมือน เป็น คล้าย เท่า คือ เช่น
ผมเป็นนักเรียน
คนสองคนนี้เหมือนกัน
ลูกคนนี้คล้ายพ่อ
ส้ม 3 ผลใหญ่เท่ากัน
เขาคือครูของฉันเอง
4. กริยานุเคราะห์ คือคำกริยามี่ไม่มีความหมายในตัวเอง ทำหน้าที่ช่วยกริยาให้มีความหมายชัดเจนขึ้นได้แก่คำ จง กำลัง จะ ย่อม คง ยัง ถูก นะ เถอะ เทอญ ฯลฯ เช่น
แดงจะไปโรงเรียน
เขาถูกตี
รีบไปเถอะ
คำวิเศษณ์
คำวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นให้ได้ใจความชัดเจนยิ่งขึ้น แบ่งออกเป็น 10 ชนิดคือ
1. ลักษณะวิเศษณ์ บอกลักษณะ เช่น สูง ใหญ่ ดำ อ้วน ผอม แคบ หวาน เค็ม กว้าง
2. กาลวิเศษณ์ บอกเวลา เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น ดึก เดี๋ยวนี้ โบราณ
3. สถานวิเศษณ์ บอกสถานที่ เช่น ใกล้ ไกล บน ล่าง
4. ประมาณวิเศษณ์ บอกจำนวน เช่น หนึ่ง สอง น้อย มาก ทั้งหมด ทั้งปวง บรรดา
5. นิยมวิเศษณ์ บอกความแน่นอน เช่น นี่ นี้ โน่น นั้น
6. อนิยมวิเศษณ์ บอกความไม่แน่นอน เช่น กี่ อันใด ทำไม อะไร ใคร
- กี่คนก็ได้
- ใครทำก็ได้
- เป็นอะไรก็เป็นกัน
- คนอื่นไม่รู้ไม่เห็น
7. ปฤจฉาวิเศษณ์ บอกความเป็นคำถาม เช่น
- แม่จะไปไหน
- เธออายุเท่าไร
- แกล้งเขาทำไม
- ไยจึงไม่มา
8. ประติชฌาวิเศษณ์ (บอกการตอบรับ) มีคำว่า คะ ครับ จ้ะ จ๋า ขา ฯลฯ
9. ประติเศษวิเศษณ์ แสดงความปฏิเสธ เช่น ไม่ ไม่ใช่ หามิได้ บ่
10. ประพันธวิเศษณ์ แสดงหน้าที่เชื่อมประโยค เช่น ที่ ซึ่ง อัน
- เขาพูดอย่างที่ใคร ๆ ไม่คาดคิด
- เธอเดินไปหยิบหนังสือซึ่งอยู่บนโต๊ะ
- ของมีจำนวนมากอันมิอาจนับได้
คำบุพบท
คำบุพบท คือคำที่ใช้นำหน้าคำอื่นแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
1. ไม่เชื่อมกับบทอื่น ได้แก่ คำทักทาย หรือร้องเรียน เช่น ดูกร ข้าแต่ อันว่า แน่ะ เฮ้ย
2. เชื่อมกับบทอื่น ได้แก่ โดย ของ บน
- พวกเราเดินทางโดยรถยนต์
- ขนมเหล่านั้นเป็นของคุณแม่
- นกเกาะอยู่บนต้นไม้
- เขาเดินไปตามถนน
- ฉันเขียนหนังสือด้วยปากกา
- เขามาถึงตั้งแต่เช้า
- ในหลวงทรงเป็นประมุขแห่งชาติ
- เขาบ่นถึงเธอ
- นักโทษถูกส่งไปยังเรือนจไ
- ครูชนบทอยู่ไกลปืนเที่ยง
- นักเรียนอ่านหนังสืออยู่ภายในห้องเรียน
- ข้าวในนา ปลาในน้ำ
- ประชาชนทุกคนอยู่ใต้กฎหมายของบ้านเมือง
การใช้คำ กับ แก่ แด่ ต่อ
กับ ใช้กับการกระทำที่ร่วมกันกระทำ
- เขากับเธอมาถึงโรงเรียนพร้อมกัน
- พ่อกับลูกกำลังอ่านหนังสือ
แก่ ใช้นำหน้าผู้รับที่มีอายุน้อยกว่าผู้ให้ หรือเสมอกัน
- คุณครูมอบรางวัลแก่นักเรียน
- เขามอบของขวัญปีใหม่แก่เพื่อน
แด่ ใช้นำหน้านามที่เป็นผู้รับที่มีอายุมากกว่า หรือกับบุคคลที่เคารพ
- นักเรียนมอบของขวัญแด่อาจารย์ใหญ่
- ฉันถวายอาหารแด่พระสงฆ์
ต่อ ให้ในการติดต่อกับผู้รับต่อหน้า
- จำเลยให้การต่อศาล
- ประธานนักเรียนเสนอโครงการต่ออาจารย์ใหญ่
- หาคนหวังดีต่อชาติ
- ผู้แทนราษฎรแถลงนโยบายต่อประชาชาน
คำสันธาน
คำสันธาน คือคำเชื่อมคำ หรือประโยคเชื่อมประโยคให้ต่อเนื่องกัน มี 2 ลักษณะ คือ
1. เชื่อมคำกับคำ เช่น พี่กับน้อง เขียนกับอ่าน ลูกและหลาน
2. เชื่อมประโยคกับข้อความ หรือข้อความกับประโยค มี 4 ลักษณะคือ
ก. คล้อยตามกัน เช่น พอล้างมือเสร็จก็ไปรับประทานอาหาร
ข. ขัดแย้งกัน เช่น แม้เขาจะขยั้นแต่ก็เรียนไม่สำเร็จ
ค. เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เธอจะอ่านหนังสือกรหรือจะเล่น
ง. เป็นเหตุเป็นผลกัน เช่น เพราะรถติดเขาจึงมาสาย
คำอุทาน
คำอุทาน คือคำที่เปล่งออกมาบอกอาการ หรือความรู้สึกของผู้พูดแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
1. อุทานบอกอาการ หรือบอกความรู้สึก จะใช้เครื่องหมาย อัศเจรีย์ ( ! )
กำกับข้างหลัง เช่น
อุ๊ย ! พุทโธ่ ! ว๊าย! โอ้โฮ! อนิจจา!
2. อุทานเสริมบท เป็นคำพูดเสริมเพื่อให้เกิดเป็นคำที่สละสลวยขึ้น เช่น
- รถรา
- กระดูกกระเดี้ยว
- วัดวาอาราม
- หนังสือหนังหา
- อาบน้ำอาบท่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น